ประวัติความเป็นมา "การอุปสมบทอุทิศชีวิต"
ของสามเณรเปรียญธรรมวัดพระธรรมกาย
( ๒๒ เมษายน และวันวิสาขบูชา ตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน )
.....................................................................................................................................
วัดพระธรรมกาย โดยการนำของหลวงพ่อธัมมชโย
หลวงพ่อทัตตชีโว คุณยายอาจารย์อาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
และหมู่คณะรุ่นบุกเบิก
ได้ร่วมกันพลิกผืนนาฟ้าโล่ง บนพื้นที่ ๑๙๖ ไร่
ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ให้เป็นบุญสถานแห่งการสั่งสมบุญสร้างบารมี
ด้วยมโนปณิธานในการสร้างวัดว่า
• สร้างวัดให้เป็นวัด
• สร้างพระให้เป็นพระ
• สร้างคนให้เป็นคนดี
โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทุ่มเทแรงกาย แรงใจ
อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา จนสามารถเผยแผ่ธรรมะไปสู่มหาชนเป็นจำนวนมาก
ในแต่ละปี แต่ละเดือน แต่ละวัน จึงมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการฝึกฝนอบรมตัวเอง การสั่งสมบุญสร้างบารมี จึงทำให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา และพร้อมที่จะอุทิศชีวิต กำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา และกำลังบริวารในการทุ่มเทช่วยงานพระพุทธศาสนา เป็นกัลยาณมิตรให้คนอื่นๆ ได้มีโอกาสในการปฏิบัติธรรมและรับผลแห่งการปฏิบัติคือความสุขด้วยธรรมทั้งภายนอกและภายใน เป็นชาวพุทธที่เข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
ในแต่ละปี แต่ละเดือน แต่ละวัน จึงมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการฝึกฝนอบรมตัวเอง การสั่งสมบุญสร้างบารมี จึงทำให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา และพร้อมที่จะอุทิศชีวิต กำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา และกำลังบริวารในการทุ่มเทช่วยงานพระพุทธศาสนา เป็นกัลยาณมิตรให้คนอื่นๆ ได้มีโอกาสในการปฏิบัติธรรมและรับผลแห่งการปฏิบัติคือความสุขด้วยธรรมทั้งภายนอกและภายใน เป็นชาวพุทธที่เข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
ในช่วงเริ่มต้น วัดพระธรรมกายมีบุคลากรหลักๆ ๓
ประเภท คือ พระภิกษุ อุบาสกและอุบาสิกา
ต่อมาเมื่อวัดพระธรรมกายขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า ๒๐๐๐ ไร่ มีความพร้อมในการรองรับงานพระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ
หลวงพ่อธัมมชโยได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการสร้างความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนา
ด้วยการสร้างศาสนทายาทให้มีมากขึ้น โดยได้พิจารณาเห็นว่า
สามเณรผู้เป็นเหล่ากอของสมณะ เป็นผู้ได้โอกาสในการมาบวชตั้งแต่เยาว์วัย
ทำให้มีเวลาในการศึกษาเรียนรู้ธรรมะและการสร้างบารมีอย่างเต็มที่
จะเป็นกำลังสำคัญในการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาในอนาคต
เพราะได้รับการปลูกฝังให้มีความรู้ความเข้าใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเต็มที่
ส่งผลให้มีเป้าหมายชีวิตการบวชที่มั่นคง มีจิตใจที่เข้มแข็งในการสร้างบารมีตามแบบอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและมหาปูชนียาจารย์
ท่านจึงได้เปิดโอกาสรับสามเณรจากวัดต่างๆ เข้ามาอยู่ประจำในวัดพระธรรมกาย
โดยในวันที่ ๖ เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ มีสามเณรรูปแรกของวัดพระธรรมกาย คือ
สามเณรสุธรรม แก้วเคน (ปัจจุบัน คือ พระมหาสุธรรม สุรตโน ป.ธ.๙,ดร. ผู้อำนวยการสำนักพระปริยัติธรรม )
และในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ จึงได้เริ่มดำเนินโครงการอบรมยุวธรรมทายาท รุ่นที่ ๑
(รับเยาวชนมาบรรพชาเป็นสามเณรในวัดพระธรรมกาย) และโครงการอบรมสามเณรแก้ว
(รับสามเณรจากวัดต่างๆ มาอบรมและรับเข้าสังกัดวัดพระธรรมกาย)
และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดพระธรรมกายจึงมีบุคลากรครบทั้ง พระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา
และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดพระธรรมกายจึงมีบุคลากรครบทั้ง พระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา
หลวงพ่อธัมมชโยท่านมีความเมตตาและปรารถนาดีต่อสามเณรเป็นอย่างมาก
ให้ความสำคัญ ส่งเสริม
และสนับสนุนในการฝึกฝนอบรมสามเณรทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทั้งด้วยตัวของท่านเองและมอบเป็นภาระให้พระพี่เลี้ยงสามเณร
โดยท่านได้มอบนโยบายการฝึกฝนอบรมสามเณรวัดพระธรรมกายจะต้องถึงพร้อมปริยัติ ปฏิบัติ
ปฏิเวธ เทศนา ภาษา และวิชชาธรรมกาย
และหลวงพ่อท่านได้ให้คำขวัญแก่สามเณรวัดพระธรรมกายว่า
“สามเณรดี มีวินัย
ใฝ่ศึกษา เทศนาแกล้วกล้า ค้นคว้าวิชชาธรรมกาย มุ่งไปสู่เป้าหมาย ถึงที่สุดแห่งธรรม”
ดังนั้น
ทุกกิจวัตร ทุกกิจกรรมของสามเณรวัดพระธรรมกายจึงเป็นไปเพื่อการฝึกฝนอบรมตนเองให้ได้ตามนโยบายและคำขวัญสามเณรของหลวงพ่อ
สามเณรมาอยู่จำพรรษาที่วัดพระธรรมกายตั้งแต่อายุยังน้อย
ได้รับการฝึกฝนอบรมตนเองให้สมบูรณ์พร้อมตามนโยบายและคำขวัญสามเณรของหลวงพ่อจนถึงอายุครบ
๒๐ ปี สมควรแก่การอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา
หลวงพ่อก็ได้เมตตารับเป็นเจ้าภาพในการอุปสมบทให้ทุกรูป
โดยสามารถจัดกลุ่มสามเณรเปรียญผู้เข้ารับการอุปสมบทตลอดชีวิตได้ ๓ กลุ่ม ดังนี้
๑. ปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ - ๒๕๓๕
สามเณรเปรียญอุปสมบทในโครงการอบรมพระธรรมทายาทภาคฤดูร้อน
สามเณรเปรียญผู้มีอายุครบการอุปสมบทในปีดังกล่าว
ได้เข้าร่วมการอุปสมบทและเข้าร่วมกิจกรรมในการฝึกฝนอบรมตนเองพร้อมเพรียงกันกับพระธรรมทายาทภาคฤดูร้อน
ตามกำหนดการของโครงการอบรมพระธรรมทายาทประจำปี
๒. ปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ - ๒๕๔๑
สามเณรเปรียญอุปสมบทในวันที่ ๒๒ เมษายน ประจำปี
สามเณรเปรียญผู้มีอายุครบการอุปสมบทในปีดังกล่าว
ได้รับโอกาสการอุปสมบทในวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อธัมมชโย คือวันที่ ๒๒ เมษายน
ของทุกปี โดยหลังจากการสอบบาลีสนามหลวงประจำปีเสร็จเรียบร้อยแล้ว
สามเณรวัดพระธรรมกายจะได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อให้ขึ้นไปปฏิบัติกรรมฐาน ณ
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประจำทุกปี เป็นระยะเวลากว่า ๑ เดือน
ก่อนที่จะมีการเปิดเรียนพระปริยัติธรรมในปีการศึกษาต่อไปหลังวันวิสาขบูชาของทุกปี
จะเป็นช่วงเวลาที่หลวงพ่อได้เมตตาสอนกรรมฐานแก่สามเณรอย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลากว่า ๑ เดือน ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติกรรมฐานเป็นอย่างดียิ่ง และก่อให้เกิดความซาบซึ้งในเป้าหมายและมโนปณิธานการบวชอุทิศชีวิตสร้างบารมีทำวิชชาธรรมกายตามรอยบาทพระบรมศาสดาและมหาปูชนียาจารย์มีพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อธัมมชโย หลวงพ่อทัตตชีโว เป็นต้น
จะเป็นช่วงเวลาที่หลวงพ่อได้เมตตาสอนกรรมฐานแก่สามเณรอย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลากว่า ๑ เดือน ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติกรรมฐานเป็นอย่างดียิ่ง และก่อให้เกิดความซาบซึ้งในเป้าหมายและมโนปณิธานการบวชอุทิศชีวิตสร้างบารมีทำวิชชาธรรมกายตามรอยบาทพระบรมศาสดาและมหาปูชนียาจารย์มีพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อธัมมชโย หลวงพ่อทัตตชีโว เป็นต้น
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖
สามเณรเปรียญผู้มีอายุครบการอุปสมบทได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อให้ขึ้นไปปฏิบัติกรรมฐานนอกสถานที่
ณ ธุดงคสถานล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
โดยหลวงพ่อธัมมชโยเมตตาสามเณรนำปฏิบัติกรรมฐานด้วยตัวของท่านเอง ส่งผลให้สามเณรแต่ละรูปมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีมาก
เป็นที่พอใจของหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง
วันหนึ่งหลวงพ่อถามลูกสามเณรว่า "จะเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อไรจ๊ะ"
ลูกสามเณรตอบว่า "วันที่ ๒๖ เมษายน
ที่จะถึงนี้ครับ"
หลวงพ่อถามต่อว่า "มีทั้งหมดกี่รูปจ๊ะ"
ลูกสามเณรตอบว่า "มีทั้งหมด ๒๒ รูปครับ"
พอหลวงพ่อได้ยินคำว่า "มีทั้งหมด ๒๒
รูปครับ" ท่านปลื้มปิติมาก ได้กล่าวขึ้นว่า "๒๒ รูปหรือ งั้นก็บวช ๒๒
เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อเลยจ้า ลูกเณร ๒๒ รูป ต้องบวช ๒๒ เมษา
จึงจะเหมาะสม"
วันต่อมาหลวงพ่อลงนำลูกสามเณรปฏิบัติธรรม
ท่านกล่าวว่า "ลูกเณรมีบุญ มาทางลัด ได้มาบวชตั้งแต่เล็กๆ
ไม่ต้องไปต่อสู้ในทางโลกให้ใจเศร้าหมอง ไม่เชื่อไปถามพวกหลวงพี่ทั้งหลายดูนะ
ลูกเณรที่จะบวชพระในวันที่ ๒๒ เมษายนนี้ หลวงพ่อขอเป็นเจ้าภาพเองนะจ๊ะ
ใครไม่เอาบุญนี้ หลวงพ่อจะเอาบุญเอง
ใครมาร่วมเป็นเจ้าภาพก็มาร่วมกับหลวงพ่อได้นะจ๊ะ ให้บวชได้สองชั้นกันเลยนะจ๊ะ"
นี่คือจุดเริ่มต้นของการได้บวชอุทิศชีวิตของสามเณรเปรียญวัดพระธรรมกายที่หลวงพ่อธัมมชโย
เมตตาให้ลูกสามเณรได้อุปสมบทอุทิศชีวิต ในวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อ ๒๒
เมษายนของทุกๆ ปี (รุ่นปี๒๕๓๖) ขณะนั้น จัดพิธีอุปสมบทขึ้น ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
กรุงเทพฯ รุ่นแรกนี้ (ปัจจุบัน มี พระมหาวีรวัฒน์ วีรวฑฺฒโก ป.ธ.๙)
เป็นภันเตสูงสุดของรุ่น
และตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ ก็จัดให้มีพิธีอุปสมบทอุทิศชีวิต ขึ้น ณ
อุโบสถวัดพระธรรมกาย จนถึงทุกวันนี้
๓. ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ -
ปัจจุบัน
สามเณรเปรียญอุปสมบทในวันวิสาขบูชาของทุกปี
สามเณรเปรียญผู้มีอายุครบการอุปสมบทในปีดังกล่าว
ได้รับโอกาสการอุปสมบทในวันวิสาขบูชา เนื่องจากวันที่ ๒๒ เมษายน ของทุกปี
จะเป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อธัมมชโยแล้ว ยังเป็นวันคุ้มครองโลก อีกด้วย
วัดพระธรรมกายได้จัดกิจกรรมงานวันคุ้มครองโลก โดยได้นิมนต์พระสงฆ์จากทั่วประเทศมาร่วมกิจกรรม
ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรจากทุกภาคส่วนทั้งพระสงฆ์สามเณร อุบาสกอุบาสิกา
และสาธุชน มาปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละส่วนงาน
เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยสมบูรณ์ของกิจกรรมต่างๆ
และกิจกรรมงานวันคุ้มครองโลกมีตลอดต่อเนื่องทั้งวัน ทำให้ไม่สะดวกในการจัดพิธีอุปสมบทตลอดชีวิตของสามเณรเปรียญ
หลวงพ่อธัมมชโยจึงได้เมตตาให้จัดพิธีอุปสมบทอุทิศชีวิตในวันวิสาขบูชาของทุกปี
ท่านให้โอวาทว่า เป็นวันที่สว่างและดีที่สุด คือ วันวิสาขบูชา
วันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันเพ็ญขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชนะมาร
ลูกสามเณรของหลวงพ่อจะได้ชนะมาร ปราบมารประหารกิเลสทำวิชชาธรรมกายตามมหาปูชนียาจารย์ไปตลอดทั้งหยาบทั้งละเอียด
และหลวงพ่อได้เมตตามอบฉายาให้สามเณรเปรียญฯ ผู้จะอุปสมบทอุทิศชีวิต ในวันวิสาขบูชา มีฉายาท้ายนามว่า
“ชโย แปลว่า ผู้มีชัยชนะ” สอดคล้องต้องกับฉายาของหลวงพ่อว่า “ธัมมชโย แปลว่า
ผู้มีชัยชนะโดยธรรม”
ส่วนสามเณรวัดพระธรรมกายผู้สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค
ขณะเป็นสามเณร ซึ่งจะได้เข้าร่วมการอุปสมบทเป็นพระภิกษุนาคหลวง
หลวงพ่อได้เมตตามอบฉายาให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ธมฺม" เช่น
พระมหาสุวิทย์ ธมฺมิกมุนิ ป.ธ.๙ (นาคหลวง),ดร. เป็นต้น
สอดคล้องต้องกับฉายาของหลวงพ่อว่า “ธัมมชโย แปลว่า ผู้มีชัยชนะโดยธรรม”
ในการอุปสมบทอุทิศชีวิตของสามเณรเปรียญในแต่ละปี
นอกจากการได้รับความเมตตาในการปฏิบัติกรรมฐานร่วมกับหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อธัมมชโยจะเมตตาถวายผ้าไตรจีวร แก่ลูกๆ
สามเณรทุกรูป ด้วยตัวของท่านเอง และเมตตาให้โอวาทในการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อเข้าพิธีอุปสมบท
สาระสำคัญของโอวาทโดยสรุป คือ “ให้ปฏิบัติธรรมใจใสๆ จนเข้าถึงพระธรรมกาย
จะได้บวชสองชั้น เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ให้แก่ตัวเอง และเป็นเนื้อนาบุญให้กับโยมพ่อโยมแม่
และสาธุชนที่สนับสนุนให้ลูกสามเณรได้มีเวลาศึกษาเล่าเรียนประพฤติปฏิบัติธรรมได้โดยง่าย
โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอื่นๆ
ให้ได้รับบุญจากการอุปสมบทอุทิศชีวิตในครั้งนี้อย่างเต็มที่”
หลวงพ่อธัมมชโยได้มอบโอวาทอันทรงคุณค่าในการบวชตลอดชีวิตแก่ลูกๆ
สามเณร "การตัดสินใจบวชอุทิศชีวิต เหมือนกับเป็นการประกาศศึกว่า
เรานี้จะทุ่มทั้งชีวิตของเราไปข้างหน้าโดยไม่เหลียวหลังมา เหมือนเราทุบหม้อข้าว
เอาชีวิตทั้งชีวิตไว้ในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชไปแล้วต้องรักษาอุดมการณ์
ปณิธานของตนเอง สิ่งใดยังไม่สมบูรณ์ เช่น การศึกษาที่ยังไปไม่ถึงเปรียญธรรม ๙
ประโยค ถ้าเรายังมีความตั้งใจอยู่ก็ให้ไปให้ถึง
ถ้าใครมีความรู้ความสามารถสติปัญญาไปไม่ถึง ก็ต้องช่วยกันทำงานพระศาสนา "
พระมหาสุวิทย์ ธมฺมิกมุนิ ป.ธ.๙ (นาคหลวง),ดร. ผู้ช่วยหัวหน้าหมู่กุฏิสามเณรวัดพระธรรมกาย
กล่าวว่า “กว่าจะมาเป็นสามเณรที่บวชอุทิศชีวิตได้ ต้องเตรียมตัวนาน คือ
แต่ละรูปต้องเริ่มฝึกตัวเองตั้งแต่เข้าวัด โดยใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
ส่วนกระบวนการในการฝึกอบรมนั้น เราต้องคัดกรองสามเณรก่อน ตั้งแต่เรื่องกำลังใจ
การศึกษาเล่าเรียน สุขภาพ จากนั้นมีกระบวนการฝึกอบรมตั้งแต่วันแรกจนกระทั่งวันสุดท้ายที่ท่านได้บวช
ในเรื่องเคารพ วินัย อดทน หรือแม้แต่ ๕ ห้องชีวิต เรื่องความสะอาด ระเบียบวินัย
ความสุภาพ อ่อนโยน การตรงต่อเวลา รวมทั้งสมาธิ "
การได้มีโอกาสเป็นลูกสามเณรของหลวงพ่อ
ได้บวชสร้างบารมีในวัดพระธรรมกายใต้บารมีธรรมของหลวงพ่อ ถือเป็นความปีติใจและภาคภูมิใจอันสูงค่าที่สุดในชีวิตของลูกสามเณรทุกรูป
การได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อทั้ง ๒ คือ หลวงพ่อธัมมชโยและหลวงพ่อทัตตชีโว
ในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะการมอบอุดมการณ์ เป้าหมาย ปณิธานการบวชอุทิศชีวิตสร้างบารมีตามแบบอย่างหลวงพ่อทั้ง ๒ ยิ่งนับเป็นความเมตตาอย่างสูงสุดที่หลวงพ่อได้มอบให้แก่ลูกสามเณรทุกรูป
ในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะการมอบอุดมการณ์ เป้าหมาย ปณิธานการบวชอุทิศชีวิตสร้างบารมีตามแบบอย่างหลวงพ่อทั้ง ๒ ยิ่งนับเป็นความเมตตาอย่างสูงสุดที่หลวงพ่อได้มอบให้แก่ลูกสามเณรทุกรูป
ลูกสามเณรทุกรูปจะร่วมใจประคับประคองกันและกันบนเส้นทางการบวชอุทิศชีวิตสร้างบารมี
ให้สมบูรณ์พร้อมด้วยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เทศนา ภาษา และวิชชาธรรมกาย
ตามมโนปณิธานการสร้างบารมีตามแบบอย่างหลวงพ่อ และตามคำขวัญการเป็นสามเณรวัดพระธรรมกายที่หลวงพ่อได้เมตตามอบให้ลูกสามเณรได้ท่องเตือนย้ำตัวเองทุกๆ
วัน ว่า “สามเณรดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา เทศนาแกล้วกล้า ค้นคว้าวิชชาธรรมกาย
มุ่งไปสู่เป้าหมาย ถึงที่สุดแห่งธรรม”
ภายหลังจากการอุปสมบทอุทิศชีวิตเป็นพระมหาเปรียญ “ลูกพระมหา”แล้ว
พระมหาเปรียญทุกรูป
ได้ช่วยสนองงานพระพุทธศาสนาและหลวงพ่อทั้งสองอย่างเต็มกำลังสุดความสามารถทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา
เผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันสมความตั้งใจในการบวชอุทิศชีวิตสร้างบารมีตามแบบอย่างของหลวงพ่อทั้งสอง
นี่คือวีรบุรุษแห่งกองทัพธรรม เป็นเพชรเม็ดงามประดับไว้ในพระพุทธศาสนา ที่หลวงพ่อทั้งสองให้การส่งเสริมสนับสนุนฟูมฟักประคับประคองบนเส้นทางธรรมมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย
และจะก้าวย่างต่อไปด้วยมโนปณิธาน อุดมการณ์ที่มั่นคงไม่หวั่นไหวไปจนตลอดชีวิตการบวชสร้างบารมี
และจะก้าวย่างต่อไปด้วยมโนปณิธาน อุดมการณ์ที่มั่นคงไม่หวั่นไหวไปจนตลอดชีวิตการบวชสร้างบารมี
จำนวนการอุปสมบทสามเณรอุทิศชีวิต ๒๒เมษายน และวันวิสาขบูชา
๒๕๓๖ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒
เมษายน จำนวน ๒๒ รูป
๒๕๓๗ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๖ รูป
๒๕๓๘ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๖ รูป
๒๕๓๙ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๒๓ รูป
๒๕๔๐ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๗ รูป +๑ (นาคหลวง รูปแรกของวัดพระธรรมกาย) = ๘รูป
๒๕๔๑ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๒ รูป +๑ (นาคหลวงรูปที่๒) =๓รูป
๒๕๔๒ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๗ รูป
๒๕๔๓ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๗ รูป
๒๕๔๔ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๐ รูป+๑ (นาคหลวงรูปที่๓) =๑๑รูป
๒๕๔๕ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๑ รูป
๒๕๔๖ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๖ รูป +๑ (นาคหลวงรูปที่๔) =๗รูป
๒๕๔๗ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๒๗ รูป +๑ (นาคหลวงรูปที่๕) =๒๘รูป
๒๕๔๘ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๔ รูป +๓ (นาคหลวง รูปที่๖-๘(ในพระบรมราชานุเคราะห์ รูปที่ ๑-๓)) =๑๗รูป
๒๕๔๙ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๕ รูป
๒๕๕๐ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๗ รูป
๒๕๕๑ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๐ รูป
๒๕๕๒ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๔ รูป
๒๕๕๓ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๙ รูป
๒๕๕๔ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๒ รูป
๒๕๕๕ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๒ รูป +๑(นาคหลวง รูปที่๙) = ๑๓รูป
๒๕๕๖ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๘ รูป
๒๕๓๗ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๖ รูป
๒๕๓๘ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๖ รูป
๒๕๓๙ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๒๓ รูป
๒๕๔๐ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๗ รูป +๑ (นาคหลวง รูปแรกของวัดพระธรรมกาย) = ๘รูป
๒๕๔๑ อุปสมบทอุทิศชีวิต ๒๒ เมษายน จำนวน ๒ รูป +๑ (นาคหลวงรูปที่๒) =๓รูป
๒๕๔๒ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๗ รูป
๒๕๔๓ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๗ รูป
๒๕๔๔ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๐ รูป+๑ (นาคหลวงรูปที่๓) =๑๑รูป
๒๕๔๕ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๑ รูป
๒๕๔๖ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๖ รูป +๑ (นาคหลวงรูปที่๔) =๗รูป
๒๕๔๗ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๒๗ รูป +๑ (นาคหลวงรูปที่๕) =๒๘รูป
๒๕๔๘ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๔ รูป +๓ (นาคหลวง รูปที่๖-๘(ในพระบรมราชานุเคราะห์ รูปที่ ๑-๓)) =๑๗รูป
๒๕๔๙ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๕ รูป
๒๕๕๐ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๗ รูป
๒๕๕๑ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๐ รูป
๒๕๕๒ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๔ รูป
๒๕๕๓ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๙ รูป
๒๕๕๔ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๒ รูป
๒๕๕๕ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๒ รูป +๑(นาคหลวง รูปที่๙) = ๑๓รูป
๒๕๕๖ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๘ รูป
๒๕๕๗ อุปสมบทอุทิศชีวิต
วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๒ รูป
๒๕๕๘ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๒ รูป
๒๕๕๙ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๗ รูป
๒๕๖๐ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๘ รูป
๒๕๖๑ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๗ รูป
๒๕๖๒ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๔ รูป +๑(นาคหลวง รูปที่๑๐) =๑๕รูป
๒๕๕๘ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๒ รูป
๒๕๕๙ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๗ รูป
๒๕๖๐ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๘ รูป
๒๕๖๑ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๗ รูป
๒๕๖๒ อุปสมบทอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา จำนวน ๑๔ รูป +๑(นาคหลวง รูปที่๑๐) =๑๕รูป
ขอบพระคุณสำหรับข้อมูล
พระเดชพระคุณ พระศรีพัชโรดม ป.ธ.๙ ดร.
พระมหาสุธรรม สุรตโน ป.ธ.๙,ดร.
พระมหาสุธรรม สุรตโน ป.ธ.๙,ดร.
พระมหาวีระวัฒน์ วีรวฑฺฒโก ป.ธ.๙
พระมหาสมบัติ อินฺทปญฺโญ ป.ธ.๙,ดร.
พระมหาสมบัติ อินฺทปญฺโญ ป.ธ.๙,ดร.
พระมหาสุพล สุพโล ป.ธ.๙
พระมหาสุวิทย์ ธมฺมิกมุนิ ป.ธ.๙ (นาคหลวง),ดร.
และคณะสหพันธ์มหาเปรียญ.
พระมหาสุวิทย์ ธมฺมิกมุนิ ป.ธ.๙ (นาคหลวง),ดร.
และคณะสหพันธ์มหาเปรียญ.
***************************************************************************************
รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระมหาพรหมเทพ เมตฺติชโย ๐๘/๐๕/๖๐
รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระมหาพรหมเทพ เมตฺติชโย ๐๘/๐๕/๖๐
กราบอนุโมทนาบุญกับสามเณรผู้เข้าพิธีอุปสมบทอุทิศชีวิตครับ
ตอบลบเอาบุญมาฝาก และขออนุโมทนาบุญด้วยนะ
ลบสาธุ ครับ อนุโมทนาบุญ กับสามเณรครับ 🙏🙏🙏 ชาติหน้าให้ผมได้บวชสร้างบารมีตั้งแต่เด็กแบบสามเณรเทอญ
ตอบลบขออนุโมทนาบุญด้วยนะ
ลบอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุ...
ตอบลบเป็นชีวิตที่มีคุณค่ามากที่สุด อนุโมทนาบุญครับ
ตอบลบขออนุโมทนาบุญกับหลวงพี่มหาผู้บวชอุทิศชีวิตทุกรูปครับ
ตอบลบสาธุๆๆๆๆ
ตอบลบน้อมกราบอนุโมทนาบุญกับสามเณรเปรียญธรรมผู้บวชอุทิศชีวิตทุกรูปตั้งแต่รุ่นแรกจนปัจจุบันด้วยความเคารพยิ่งเจ้าค่ะ กราบสาธุ สาธุ สาธุเจ้าค่ะ
ตอบลบน้อมกราบนมัสการ
ตอบลบน้อมกราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
เป็นบุญเป็นกุศลที่ได้รับรู้รับทราบบุญใหญ่เช่นนี้
บวชอุทิศชีวิต เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
กราบ อนุโมทนาสาาาธุ ๆๆๆๆ
ตอบลบสาธุครับ...เห็นภาพแล้วปลื้มมาก ๆ ...ท่านเหล่านี้ จักเป็นกำลังสำคัญในการขยายงานพระพุทธศาสนา
ตอบลบ